เหล็กเสริมล่างในพื้น Post tension
ในบทความนี้จะลงรายละเอียดเกี่ยวกับเหล็กล่างในพื้น Post tension โดยเฉพาะเกี่ยวกับการใช้ wire mesh เพื่อขยายความและปรับแก้เนื้อหาบางส่วนในบท...
การก่อสร้างแบบใช้ คอนกรีตอักแรงกำลังสูง พื้น POST TENSION โดยทั่วไปคือระบบพื้นคอนกรีตที่มีเหล็กเส้นที่รับแรงดึงได้มาก ๆ เสริมอยู่ภายใน และทำการดึงเส้น เหล็กนั้นให้ตึงเมื่อหล่อคอนกรีตเสร็จแล้ว เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของพื้น การที่มีเหล็กแรงดึงดูดเสริมและดึงอยู่ในพื้นคอนกรีตนี่เอง ทำให้โครงสร้างชนิดนี้มีหน้าตัดที่บางลง และไม่จำเป็นต้องมีคานมารัดหัวเสาเพื่อการถ่ายน้ำหนัก จากพื้นสู่เสาด้วย ราคาค่าก่อสร้างหลายอาคารก็ถูกลง และยังลดความสูงระหว่างชั้นได้ด้วย พื้นระบบ POST TENSION คือพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง ที่จะมีการดึงเหล็กเส้นที่อยู่ในคอนกรีตภายหลังเทคอนกรีตแล้วเสร็จ เพื่อให้โครงสร้างสามารถรับแรงได้มากกว่าปกติ จนทำให้โครงสร้าง พื้นเห็นเป็นเพียงแผ่นคอนกรีตบาง ๆ (20-28 ซม.) ไม่มีคานมารับตามช่วงเสา ทำให้พื้นระบบ POST TENSION (สะดวกกว่าระบบมีคาน) และลดค่าใช้จ่ายในงานโครงสร้างได้ พอสมควรทีเดียว
เนื่องจากพื้น POST-TENSION เป็นระบบพื้นซึ่งดึงลวดอัดแรง จึงจำเป็นต้องร้อยลวดอัดแรงไว้ในท่อ GALVANIZED เพื่อไม่ให้คอนกรีตจับตัวกับลวดอัดแรง แบ่งออกเป็น 2 ระบบ ที่มีลักษณะต่างกันดังนี้ 1. BONDED SYSTEM เป็นระบบมีแรงยึดแหนี่ยว ระหว่าง PC STRAND กับพื้นคอนกรีตโดยหุ้มด้วยท่อเหล็กที่ขึ้นเป็นลอน ประกอบด้วย MULTI STRAND ท่อ 1 ท่อร้อยด้วยลวด 2, 3, 4 หรือ 5 เส้น ท่อ เป็นท่อ GALVANIZED DUCT ANCHORAGE 1 SET / ลวด 2, 3, 4 หรือ 5 เส้น ต้องมีการอัดน้ำปูนเข้าไปให้เต็มท่อหลังการดึงลวด (GROUTING) เพื่อให้จับยึดระหว่าง PC STRAND กับท่อเหล็ก จะใช้กับอาคารที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า สำนักงาน และโครงสร้างขนาดใหญ่ 2. UNBONDED SYSTEM เป็นระบบไม่มีแรงยึดแหนี่ยว ระหว่าง PC STRAND กับพื้นคอนกรีต แต่จะยึดที่บริเวณหัว ANCHORAGE ที่ปลายพื้นทั้ง 2 ข้างเท่านั้น ประกอบด้วย MONO STRAND ท่อ 1 ท่อ ร้อยด้วยลวด 1 เส้น ท่อ เป็นท่อ PE. ANCHORAGE 1 SET / ลวด 1 เส้น ลวดเคลือบด้วยจารบี ระบบนี้ไม่เหมาะสำหรับอาคารที่จะมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้ งานใน อนาคต ระบบนี้มักใช้กับอาคารที่จอดรถ หรืออาคารขนาดเล็กที่มักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้งาน
• จัดทำ SHOP DRAWING และดำเนินการติดตั้ง อุปกรณ์ POST TENSION ที่หน่วยงานก่อสร้าง • ดำเนินการดึงลวดอัดแรงตามลำดับขั้นตอน พร้อมตรวจสอบค่าการยืดของลวดแรงดึงสูงทุกเส้น • ทำการอัดน้ำปูนเข้าไปในท่อเหล็กชุบสังกะสี เพื่อป้องกันสนิม และให้เกิดการยึดเหนี่ยวระหว่างลวดแรงดึงสูง
• ลวดเหล็กตีเกลียวแรงดึงสูง (STRANDS) ชนิด 7 เส้น เส้นผ่าศูนย์กลาง 12.7 มม.หรือ 15.2 มม. ตามมาตรฐาน มอก. 420-2540หรือ ASTM A416-96ประเภทความล้าต่ำ (LOW REAXATION) • ท่อเหล็กชุบสังกะสี (CORRUGATED GALVANIZED DUCTS) ท่อเหล็กแบบลอน ผลิตจากเครื่องจักรประสิทธิภาพสูง และแผ่นแม่เหล็ก ชุบสังกะสีที่ได้มาตรฐาน ซึ่งช่วยลดแรงเสียดทานบริเวรผิวด้านในของท่อ ติดตั้งได้สะดวก ป้องกันการเกิดสนิม และช่วยเพิ่มแรงยึดเหนี่ยว ระหว่างลวดแรงดึงสูงและคอนกรีต • สมอยึด (ANCHORAGES) สมอยึดทำจากท่อหล่อเหนียว NODULAR
• เพิ่มระยะห่างของช่วงเสาทำให้จำนวนเสาลดลง ภายในอาคารดูกว้างขวางขึ้น • เพิ่มความอิสระในการจัดแนวผนังและเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการ • เพิ่มจำนวนชั้น หากเปรียบเทียบความหนาโครงสร้างที่เป็นระบบคาน พื้น POST-TENSION จะมีความหนาที่น้อยกว่า สามารถลดความสูงระหว่างชั้น จึงได้จำนวนชั้นที่ เพิ่มขึ้น • เพิ่มความรวดเร็วในการก่อสร้าง เมื่อออกแบบเป็นแผ่นพื้นท้องเรียบ จะมีความสะดวกในการตั้งแบบหล่อ และสามารถถอดแบบได้เมื่อดึงลวดอัดแรงแล้วเสร็จ • เพิ่มความประหยัดกว่าระบบพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กไม่น้อยกว่า 10-15%