ข้อมูลเบื้องต้นระบบงานในพื้น POST TENSION
เป็นบริษัทที่ดำเนินการ ออกแบบ ,ประมาณราคา พร้อมผลิตและติดตั้งงานพื้น POST TENSION รวมถึงให้คำปรึกษาทางวิชาการ โดยวิศวกรและทีมงาน ที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์ เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า ด้วยคุณภาพที่ตรงตามเวลา
• จัดทำ SHOP DRAWING และดำเนินการติดตั้ง อุปกรณ์ POST TENSION ที่หน่วยงานก่อสร้าง
• ดำเนินการดึงลวดอัดแรงตามลำดับขั้นตอน พร้อมตรวจสอบค่าการยืดของลวดแรงดึงสูงทุกเส้น
• ทำการอัดน้ำปูนเข้าไปในท่อเหล็กชุบสังกะสี เพื่อป้องกันสนิม และให้เกิดการยึดเหนี่ยวระหว่างลวดแรงดึงสูง
• ลวดเหล็กตีเกลียวแรงดึงสูง (STRANDS) ชนิด 7 เส้น เส้นผ่าศูนย์กลาง 12.7 มม.หรือ 15.2 มม. ตามมาตรฐาน มอก. 420-2540หรือ ASTM A416-96ประเภทความล้าต่ำ (LOW REAXATION)
• ท่อเหล็กชุบสังกะสี (CORRUGATED GALVANIZED DUCTS) ท่อเหล็กแบบลอน ผลิตจากเครื่องจักรประสิทธิภาพสูง และแผ่นแม่เหล็ก ชุบสังกะสีที่ได้มาตรฐาน ซึ่งช่วยลดแรงเสียดทานบริเวรผิวด้านในของท่อ ติดตั้งได้สะดวก ป้องกันการเกิดสนิม และช่วยเพิ่มแรงยึดเหนี่ยว ระหว่างลวดแรงดึงสูงและคอนกรีต
• สมอยึด (ANCHORAGES) สมอยึดทำจากท่อหล่อเหนียว NODULAR
• เพิ่มระยะห่างของช่วงเสาทำให้จำนวนเสาลดลง ภายในอาคารดูกว้างขวางขึ้น
• เพิ่มความอิสระในการจัดแนวผนังและเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการ
• เพิ่มจำนวนชั้น หากเปรียบเทียบความหนาโครงสร้างที่เป็นระบบคาน พื้น POST-TENSION จะมีความหนาที่น้อยกว่า สามารถลดความสูงระหว่างชั้น จึงได้จำนวนชั้นที่ เพิ่มขึ้น
• เพิ่มความรวดเร็วในการก่อสร้าง เมื่อออกแบบเป็นแผ่นพื้นท้องเรียบ จะมีความสะดวกในการตั้งแบบหล่อ และสามารถถอดแบบได้เมื่อดึงลวดอัดแรงแล้วเสร็จ
• เพิ่มความประหยัดกว่าระบบพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กไม่น้อยกว่า 10-15%