Anchorage zone คือคอนกรีตบริเวณที่รับแรงอัดจากหัว Anchorage ที่เกิดจากการหดตัวของลวดอัดแรงอัดไปที่ Anchorage คอนกรีตบริเวณดังกล่าวจะมีระยะประมาณระยะมากที่สุดของหน้าตัดของโครงสร้าง ถ้าเป็นคานจะประมาณความลึกของคาน ในบริเวณนี้จะเกิดความเค้นอัดสูงมากบริเวณใกล้หัว anchorage รวมทั้งสามารถเกิดความเค้นดึงที่ระยะห่างจากหัว Anchorage ด้วย
ในการพิจารณา Anchorage zone จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. Local zone เป็นบริเวณที่รับแรงอัดเป็นส่วนใหญ่
2. General zone เป็นบริเวณที่เกิดความเค้นดึงสูง
Local zone
-Check bearing resistance according to AASHTO 5.8.4.4.2 (imperial unit)
-Check slenderness ratio according to AASHTO 5.8.4.4.2
-Check confined reinforcement according to NCHRP
การใส่ spiral บริเวณหัว Anchorage จะช่วยโอบรัดคอนกรีตภายในทำให้บริเวณ Local zone รับความเค้นอัดได้สูงขึ้น
General zone
ออกแบบเหล็กเสริมเพื่อต้านความเค้นดึงจาก bursting และ spalling stresses
- สำหรับพื้น Post tension บริเวณ general zone จะเกิด bursting stresses น้อย เนื่องจากพื้นมีบริเวณกว้าง
- สำหรับงานคาน จำนวน strand ในหัว anchorage มีจำนวนมาก และหน้าตัดของคานมีบริเวณจำกัด ดังนั้นค่า bursting stresses กับ spalling stresses จึงมีค่าสูงจึงจำเป็นต้องคำนวณหาเหล็กเสริมมารับ รายละเอียดการออกแบบเหล็กเสริมดังกล่าวขอแนะนำให้ไปดูที่หนังสือ การออกแบบคอนกรีตอัดแรง โดย อาจารย์นเรฏฐ์ พันธราธร บทที่ 7 ซึ่งท่านได้รวบรวมไว้ได้อย่างครบถ้วน