มยผ.1301-54 ได้ระบุไว้ว่าเหล็กเสริมต้องมีระยะฝังพอเพียงที่จะพัฒนากำลังได้ถึงจุดคราก ในที่นี้จึงขออ้างอิงไปที่ FIP RECOMMENDATIONS “RECOMMENDATIONS FOR THE DESIGN OF POST-TENSIONED SLABS AND FOUNDATION RAFTS” โดยกำหนดให้เหล็กเสริมที่คำนวณได้จะต้องฝังอยู่ภายในแกนเหล็กเสา “ยื่นเหล็กไปในพื้น POST TENSION ไม่น้อยกว่าระยะฝังประสิทธิผล” สำหรับขอบที่ไม่ต่อเนื่องเหล็กเสริมล่างที่จุดรองรับจะต้องสามารถพัฒนากำลังครากที่ขอบของจุดรองรับได้
3. เหล็กเสริมรับแรงเฉือนเจาะทะลุ(SHEAR REINFORCEMENT IN SLAB)
5. เหล็กเสริมขั้นต่ำสำหรับหมวกหัวเสา, แป้นหัวเสา และคานกว้าง (MINIMUM REINFORCEMENT FOR COLUMN CAPITAL, DROP PANEL AND BAND BEAM)
เนื่องจากการออกแบบพื้น POST TENSION ปกติ จะออกแบบเป็นระบบ FULLY PRESTRESS คือใช้ลวดอัดแรงในการรับแรงดึงที่เกิดจากโมเมนต์ดัด ดังนั้นบริเวณ COLUMN CAPITAL, DROP PANEL และ BAND BEAM จึงเป็นเหล็กเสริมขั้นต่ำเพื่อป้องกันการยืดหดเนื่องจากอุณหภูมิและ SHRINKAGE เท่านั้น โดยปริมาณที่ใส่จะใช้ตาม วสท. หรือ ACI318 ในหัวข้อเหล็กเสริมต้านการยืดหด สำหรับเหล็ก SD40 AS=0.0018BT
รูปภาพ COLUMN CAPITAL, DROP PANEL
6. เหล็กเสริมใน (POUR STRIP)
เหล็กเสริมใน POUR STRIP เราจะได้จากการออกแบบ โดยจะต้องสอดคล้องกับขั้นตอนการทำงานที่กำหนดไว้ เช่น กำหนดให้ออกแบบ POUR STRIP เป็นพื้น ONE WAY SLAB และออกแบบพื้น POST TENSION ทั้งสองฝั่งเป็นพื้นยื่นมารับ POINT LOAD ที่มาจาก POUR STRIP
หรือออกแบบ POUR STRIP และพื้น POST TENSION ต่อเนื่องกัน โดยการออกแบบลักษณะนี้จะต้องพิจารณาถึง บริเวณ POUR STRIP ที่ไม่มีลวดอัดแรงอยู่ จึงไม่มีแรงพยุงและแรงอัดขั้นต้นเหมือนบริเวณที่เป็นพื้น POST TENSION
ทั้งนี้ ทั้งสองวิธีที่กล่าวถึง จะต้องคำนึงถึงผลของการหดตัวของพื้นที่ขอบของ POUR STRIP ทั้งสองฝั่ง เนื่องจากการอัดแรงที่มีอยู่ โดยในหัวข้อนี้จะได้กล่าวถึงโดยละเอียดในบทความถัดไป
รูปภาพ POUR STRIP
7. เหล็กเสริมรอบผนังลิฟท์หรือ SHEAR WALL
รูปภาพ เหล็กเสริมรอบผนังลิฟท์
โดยปกติรอบผนังลิฟท์หรือ SHEAR WALL จะเป็นบริเวณที่แรงอัดในพื้น POST TENSION มีค่าน้อยเมื่อเทียบกับบริเวณอื่นๆ ของพื้น ซึ่งจะสามารถเห็นได้ชัดเมื่อวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธี FINITE ELEMENT METHOD (FEM) เมื่อแรงอัดในพื้นมีค่าน้อยจึงจำเป็นต้องใส่เหล็กเสริมเพื่อป้องกันการหดตัวเนื่องจากอุณหภูมิและ SHRINKAGE นอกจากนี้ ถ้าต้องการให้พื้น POST TENSION เข้าไปฝากกับผนังลิฟท์หรือ SHEAR WALL ในลักษณะของ PINNED JOINT (M=0) จำเป็นต้องถ่ายน้ำหนักในลักษณะของแรงเฉือนผ่านเหล็กเสริมที่เพียงพอเพื่อเข้าไปฝากกับจุดรองรับได้ หรือถ้าต้องการให้พื้น POST TENSION กับผนังลิฟท์หรือ SHEAR WALL ต่อกันในลักษณะของ RIGID JOINT คือสามารถถ่ายโมเมนต์ได้ ต้องทำแบบจำลองในการวิเคราะห์โครงสร้างให้สอดคล้องกับโครงสร้างจริงแล้วใส่เหล็กเสริมให้เพียงพอกับโมเมนต์ที่เกิดขึ้น