การออกแบบพื้น POST TENSION โดยการคำนวณมือและโปรแกรมคอมพิวเตอร์

เกร็ดความรู้ในระบบพื้น POST TENSION โดย บริษัท เอสเอ็นพี โพส เท็นชั่น จำกัด

การออกแบบพื้น POST TENSION โดยการคำนวณมือและโปรแกรมคอมพิวเตอร์

การวิเคราะห์และออกแบบพื้น POST TENSION ด้วยวิธี EQUIVALENT FRAME METHOD เป็นวิธีที่นิยมใช้เป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากทำได้ง่ายและมีความรวดเร็ว สามารถนำไปพัฒนาเป็นโปรแกรมการคำนวณ หรือ SPREAD SHEET ได้ง่าย โดยมีขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้

จากขั้นตอนข้างต้นนำไปออกแบบพื้น POST TENSION ที่มีลักษณะโครงสร้างตามรูปด้านล่าง โดยใช้การคำนวณมือ แล้วนำผลมาเปรียบเทียบกับการออกแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ DON_POST และโปรแกรมต่างประเทศ

โดยทั้งสามวิธีใช้จำนวนลวดเท่ากันคือ SPANที่ 1&2 ลวดอัดแรง 16 เส้น SPANที่ 3 ใช้ลวดอัดแรง 11 เส้น จัดโปรไฟล์ลวดเหมือนกัน เพื่อทำให้ STRESS ที่ TOP&BOTTOM FIBER ผ่านตามข้อกำหนด และมี BALANCE LOAD อยู่ในช่วงที่แนะนำไว้

ตารางแสดงผลการคำนวณโมเมนต์เพิ่มค่า

วิธีการคำนวณ

โมเมนต์บวก Span ที่1

โมเมนต์บวก Span ที่2

โมเมนต์ลบเสาต้นใน

คำนวณด้วยมือ
27083
21125
23140
โปรแกรม Don_Post
14010
12044
12590
โปรแกรม ADAPT PT2012
-36378
-37581
-35020

     จากผลการวิเคราะห์ โครงสร้างเพื่อหาค่าโมเมนต์ที่เกิดขึ้นตามตำแหน่งต่างๆ ในโครงสร้าง พบว่าผลของแต่ละวิธีที่ใช้คำนวณมีค่าใกล้เคียงกัน ความแตกต่างเล็กน้อยที่เกิดขึ้น น่าจะเกิดจากสมมติฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างที่อาจจะแตกต่างกัน และความละเอียดในการคำนวณเมื่อทราบขั้นตอนในการออกแบบพื้น POST TENSION แล้ว การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการออกแบบจะทำให้สามารถออกแบบได้เร็วขึ้น โดยการดูผลลัพธ์ ตรวจสอบและปรับแก้จนการออกแบบผ่าน DESIGN CRITERIA ต่างๆ จะเป็นไปตามขั้นตอนใน FLOW CHART

หมายเหตุ

     โปรแกรม DON_POST เป็นโปรแกรมสำหรับออกแบบพื้นไร้คานคอนกรีตเสริมเหล็กและคอนกรีตอัดแรง ที่พัฒนาโดยคนไทย ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญสำหรับวงการการออกแบบพื้น POST TENSION ผลที่ออกมาใกล้เคียงกับการคำนวณโดยโปรแกรมต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีการแสดงข้อมูลที่สำคัญต่อผู้ออกแบบอาคารคือแสดงผลโมเมนต์ที่ถ่ายไปสู่เสาในแบบกราฟิก ช่วยให้ผู้ออกแบบอาคารสามารถตรวจสอบได้ว่าค่าโมเมนต์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเสาหรือไม่ การพัฒนาขั้นต่อๆ ไป ของโปรแกรม DON_POST จึงมีความน่าสนใจในการตอบสนองการออกแบบพื้น POST TENSION และในอนาคตน่าจะสามารถพัฒนาจนมีความสามารถเท่ากับโปรแกรมเชิงพาณิชย์ทั่วไปได้


เรียบเรียงโดย

ภาคภูมิ วานิชกมลนันท์ [วย. 1924]

เอกสารอ้างอิง

1. “คู่มือเฉพาะทาง การออกแบบระบบโพสเทนชั่น” TUMCIVIL

2. โปรแกรมช่วยออกแบบพื้นโพสเทนชั่น และแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตเสริมเหล็ก “DON_POST” ดร. สรกานต์ ศรีตองอ่อน

ดาวน์โหลดรายการคำนวณ

DownloadPDF

ดาวน์โหลดบทความ

DownloadPDF DownloadPDF

แชร์เกร็ดความรู้ : Share knowledge

Copyright©2016 SNP-POST.COM All Rights Reserved.