การรื้อถอนพื้น POST TENSION ระบบมีแรงยึดเหนี่ยว (BONDED SYSTEM)

เกร็ดความรู้ในระบบพื้น POST TENSION โดย บริษัท เอสเอ็นพี โพส เท็นชั่น จำกัด

การรื้อถอนพื้น POST TENSION ระบบมีแรงยึดเหนี่ยว (BONDED SYSTEM)


      พื้น POST TENSION เป็นพื้นไร้คานชนิดหนึ่งที่นาลวดเหล็กกล้าตีเกลียวมาใช้เพื่ออัดแรง ช่วยให้ลดรอยร้าวในพื้นและ สร้างแรงพยุง (BALANCING FORCES) เพื่อควบคุมการแอ่นตัว รวมทั้งรับแรงดัดที่เกิดขึ้นจากน้าหนักบรรทุกที่กระทาบนพื้น ใน ขั้นตอนการก่อสร้างของระบบมีแรงยึดเหนี่ยวจะมีการยึดลวดเหล็กกล้าตีเกลียวด้วยน้าปูนที่อัดเข้าไปในท่อกัลวาไนซ์จนเต็ม การที่จะเริ่มรื้อถอนพื้น POST TENSION ระบบนี้จาเป็นต้องเข้าใจพฤติกรรมของพื้นก่อนเพื่อช่วยในการวิเคราะห์และลาดับขั้นตอนการรื้อถอนให้ถูกต้อง

การรื้อถอนพื้น POST TENSION ระบบมีแรงยึดเหนี่ยว เมื่อลวดขาดลวดจะไม่หดตัวกลับทันทีเพราะมีน้าปูนในท่อกัลวา ไนซ์ทาให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างลวดและคอนกรีต ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีข้อหนึ่งของพื้นระบบนี้

การจัดวาง TENDON ในพื้น POST TENSION โดยส่วนใหญ่จะเป็นการจัดวางแบบ BAND-DISTRIBUTE แสดงดังรูป


       โดยในทิศทาง BAND DIRECTION กาหนดให้ TENDON วิ่งอยู่ในแนว COLUMN STRIP เท่านั้น ส่วน TENDON ในแนว DISTRIBUTED DIRECTION หรือ UNIFORM DIRECTION วางในแนวตั้งฉากกับ BAND DIRECTION โดย TENDON จะกระจายโดยมี ระยะห่างไม่เกิน 8 เท่าของความหนาพื้น แต่ไม่เกิน 1.50M ดังนั้นก่อนทาการรื้อถอนจึงจาเป็นจะต้องมีข้อมูลเรื่องรูปแบบการ วางลวดที่ชัดเจนก่อน เช่น ดูจาก AS-BUILT DRAWING หรือถ้าไม่สามารถหาได้ จาเป็นจะต้อง SCAN เพื่อหาแนว TENDON ก่อน เริ่มทาการรื้อถอน

รูปภาพ แสดงการ SCAN หาตำแหน่งลวด

รูปภาพ แสดงการวาง TENDON

      จากรูปแบบการวาง TENDON จะมีลักษณะเหมือนลวดแนว DISTRIBUTED DIRECTION มาถ่ายน้าหนักลงลวดแนว BAND DIRECTION ที่ทาหน้าที่คล้ายคานเสมือนพาดระหว่างเสา ควรมีการตรวจสอบแนวลวดก่อนทำการสกัด โดยตรวจสอบ จาก SHOP DRAWING หรือการสแกนหาแนวลวด ดังนั้นการรื้อถอน ควรจะเริ่มด้วยการทุบสกัดพื้นบริเวณที่เป็นลวด แนว DISTRIBUTED DIRECTION ก่อน ช่วงประมาณ MIDDLE STRIP ตัด กับ MIDDLE STRIP ซึ่งจะไม่กระทบ TENDON ในแนว BAND DIRECTION


 ซึ่งถ้าเราเลือกทุบพื้นในแนว BAND DIRECTION ก่อนเพราะมองว่ามีนั่งร้านอยู่แล้ว จะทาให้พื้นบริเวณที่ฝากกับ BAND DIRECTION ที่ถูกทุบออกไปไม่มีที่รองรับ แล้วถ่ายน้าหนักลงบนนั่งร้านทั้งหมด เป็นการให้ภาระแก่นั่งร้านมากเกินไป

 รวมทั้งพื้นชั้นที่เราต้องตั้งนั่งร้านจะต้องรับน้าหนักที่ถ่ายลงมาให้ได้ด้วย จาเป็นจะต้องตรวจสอบ โครงสร้างที่ต้องการรับน้าหนักในชั้นถัดลงไปให้ครบถ้วน


      ดังนั้น  จากเหตุผลดังกล่าวจึงสามารถลาดับขั้นตอนการรื้อถอนได้ดังนี้ ติดตั้งนั่งร้านใต้พื้นบริเวณที่จะทาการรื้อถอน เลือกรื้อถอนพื้นในบริเวณที่ 1 ก่อน หลังจากนั้นให้รื้อถอนพื้นในบริเวณที่ 2 สาหรับระยะ L1 และ L3 จะได้จากการคานวณ โดยจะต้องพิจารณาดังนี้ เมื่อสกัดบริเวณที่ 1 แล้ว ความกว้าง L1 ที่เหลือ จะทาหน้าที่เหมือนเป็นคานแบน โดยเบื้องต้น พยายามควบคุมให้

     1. P/A ไม่เกิน 0.45FC’
     2. BALANCING LOAD ไม่เกิน 100%
     3. PUNCHING SHEAR ผ่าน

      หลังจากนั้นทาการรื้อถอนพื้นบริเวณที่ 3 และ 4 ตามลาดับ โดยลาดับขั้นตอนและการคานวณตรวจสอบลักษณะนี้จะ ทาให้นั่งร้านที่เตรียมไว้ไม่รับน้าหนักมาก เมื่อรื้อถอนครบทั้ง 4 ส่วนแล้ว ให้ทาการรื้อถอนบริเวณอื่นๆ ด้วยหลักการเดียวกันจน ครบพื้นที่ที่ต้องการ

เรียบเรียงโดย

ภาคภูมิ วานิชกมลนันท์ [วย. 1924]

ดาวน์โหลดบทความ

DownloadPDF DownloadPDF

แชร์เกร็ดความรู้ : Share knowledge

Copyright©2016 SNP-POST.COM All Rights Reserved.